วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การใช้งาน ESP8266 ESP-01 Wireless WIFI Module


การใช้งาน ESP8266 ESP-01 นั้น ตามสเปคต้องการใช้ไฟเลี้ยง 3.3V ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัย ของ ESP8266 ESP-01 เราจึงต้องหาแหล่งจ่ายไฟ 3.3V คือ ไอซีเร็กกูเลเตอร์ LD1117

ต่อวงจร ไอซีเร็กกูเลเตอร์ LD1117 ตามรูป












โดยเชื่อมต่อจาก VCC (5V) ของ Arduino UNO ทำการลดแรงดันไฟให้เหลือ 3.3V โดยใช้ ไอซีเร็กกูเลเตอร์ LD1117  แล้วจึงต่อเข้ากับ VCC และ PH_PD ของ ESP8266 ESP-01 ดังรูป





การต่อวงจร ระหว่าง ESP8266 ESP-01 กับ Arduino UNO
  • ESP-01 <--> UNO
  • VCC <--> 3.3V
  • GND<--> GND
  • CH_PD<--> 3.3V
  • TX <--> TX (ขา 1)
  • RX <--> RX(ขา 0)


อุปกรณ์ที่ใช้


1. Arduino UNO R3 - Made in italy

2. ESP8266 ESP-01 Wireless WIFI Module

3. ไอซีเร็กกูเลเตอร์ LD1117

4. คาปาซิเตอร์ 100 nF

5. คาปาซิเตอร์ 10 uF

6. สาย Jumper Female to Male ยาว 20cm.

7. สาย Jumper Male to Male ยาว 20cm.

8. Prototype PCB Board 4x6 cm Double Sides

9. แผ่นอะคริลิคใส ขนาด 15 x 30 เซนติเมตร

10. สกรูหัวกลม+น็อตตัวเมีย ขนาด 3มม ยาว 12มม


การใช้งานเบื้องต้น


อัพโหลดโค้ด  โปรแกรมไฟกระพริบ เข้าไปในบอร์ดด้วย เพื่อให้แน่ใจว่า ตัวไอซี ไม่ได้ใช้ช่องสัญญาณ Serial port



*** หมายเหตุ : ก่อนการอัพโหลด ให้ถอดการเชื่อมต่อ สาย
TX (ขา 1) และ RX(ขา 0) ออกก่อน 
มิฉะนั้น อาจอัพโหลดไม่ได้ ***





โค้ด  โปรแกรมไฟกระพริบ



void setup() {


  // initialize digital pin 13 as an output.

  pinMode(13, OUTPUT);

}

// the loop function runs over and over again forever

void loop() {

  digitalWrite(13, HIGH);   // turn the LED on (HIGH is the voltage level)

  delay(1000);              // wait for a second

  digitalWrite(13, LOW);    // turn the LED off by making the voltage LOW

  delay(1000);              // wait for a second

}


*** แล้วจึงเชื่อมต่อ สาย TX (ขา 1) และ RX(ขา 0) เข้าที่เดิม***





เรียนรู้ชุดคำสั่ง AT


คำสั่ง AT  คือ ชุดคำสั่งมาตรฐาน ที่สามารถใช้ติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น โมเด็ม หรือ อุปกรณ์ DTE (Data Terminal Equipment) เพื่อโต้ตอบตั้งค่าหรือสั่งงานอุปกรณ์เหล่านั้น ให้ทำงานตามที่ต้องการ

เป้าหมายของโค้ดนี้ก็คือการรับคำสั่ง AT จากพอร์ต อนุกรม ของ Arduino เพื่อส่งไปยัง ESP8266 และพิมพ์คำตอบของ ESP8266 ไปยังคำสั่งหรือการกระทำอื่น ๆ (เช่นการรับคำขอ HTTP)


เปิด Serial Monitor ของ Arduino ตั้งค่า baud rate 115200 และปรับช่องในรูปให้เป็น ฺBoth NL&CR





การสื่อสารกับ  ESP8266 ESP-01 และ การตรวจสอบ ไอพี




*** หมายเหตุ : ให้ทำตามลำดับ ***


พิมพ์ AT ตรวจสอบว่าบอร์ดเรายังใช้งานได้อยู่หรือไม่  ถ้ามีคำว่า OK หรือการตอบสนอง แสดงว่าบอร์ดเรายังใช้งานได้อยู่



พิมพ์ AT+GMR เป็นคำสั่งเช็คเวอร์ชัน เมื่อพิมพ์แล้วจะได้ผลลัพธ์ของเวอร์ชัน Firmware




พิมพ์  AT+CWMODE=3   คำสั่งนี้จะเป็นการเลือกหมวดของโมดุล จะสามารทำงานได้ 3 โหมด 1 STA , 2 AP และ 3 AP+STA, ตอนนี้ให้ลองเลือก 3



พิมพ์ AT+RST   // เป็นการ Restart โมดุล  จะ return “ready” กลับมาพร้อมทำงานแล้ว



พิมพ์ AT+CWLAP   // ค้นหา wifi เราเตอร์ ที่เปิดใช้งานอยู่




พิมพ์ AT+CIPMUX=1  // เปิดโหมดการเชื่อมต่อแบบหลายจุด





พิมพ์ AT+CWJAP="truehome2G41f","82ed641f"   //  เชื่อมต่อเข้ากับ เราเตอร์ ต้องมี เครื่องหมาย “‘ ด้วย

ssid = ชื่อ wifi ที่ต้องการเชื่อมต่อ

password =  รหัสผ่าน





พิมพ์ AT+CWJAP?    // เช็คว่าเชื่อมต่อได้หรือไม่



 พิมพ์  AT+CIFSR // ตรวจสอบไอพี ถ้าพิมพ์ คำสั่งถูก และ เชื่อมต่อเข้ากับ Router ได้อย่างไม่มีปัญหา ตัว Router จะแจกไอพี มาให้เรา ในตัวอย่างคือ 192.168.1.39




ซึ่งเราจะนำ ไอพี ที่เราได้นี้ไปใช้ใน

โปรเจค ESP8266 ESP-01 ปิด เปิด ไฟ LED ด้วย WIFI  ต่อไป



https://robotsiam.blogspot.com/2017/07/esp8266-esp-01-led-wifi.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โปรเจค IoT ESP8266 วัดอุณหภูมิความชื้น บันทึกลงดาต้าเบส MySQL

เป้าหมายของโปรเจคนี้คือเราต้องดูข้อมูลด้วยการเข้าถึงโดเมน ของเราเอง ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก โดย ESP8266 จะสร้างไคลเอ็นต์  ที่ทำให้คำขอ...